top of page

Retirement Income Stream

ลองนึกภาพตามนะ:

วันเกิดปีที่ 65 ของคุณพึ่งผ่านไป และเดือนแรกหลังเกษียณ คุณได้รับเงิน $10,000 คุณจะใช้เงินนี้ซื้ออะไร:

เดือนที่ 2 คุณได้รับเงิน $10,000 คุณจะใช้เงินนี้ทำอะไร?

เดือนที่ 3 คุณได้รับเงิน $10,000 คุณจะใช้เงินนี้ทำอะไร?

เดือนที่ 4 คุณได้รับเงิน $10,000 คุณจะใช้เงินนี้ทำอะไร?

ชีวิตหลังเกษียณควรเป็นแบบนี้ใช่หรือไม่? ได้รับเงินเป็นรายเดือนโดยไม่ต้องคิดอะไรนอกจากว่าจะเอาเงินนี้ไปทำอะไร ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะต้องเหลือไว้บ้าง เพราะคุณจะได้รับเงินจำนวนนี้ไปอีกเรื่อยๆ เรื่อยๆ และเรื่อยๆ

สิ่งสำคัญในการวางแผนเกษียณคือการจัดให้มีแหล่งรายรับจากหลายๆแหล่งเมื่อคุณเกษียณอายุ

เมื่อคุณอยู่ในช่วง “Golden Retirement Years” (ช่วงหลังเกษียณที่สุขภาพยังแข็งแรงดี) คุณคงไม่อยากกังวลว่าจะหาเงินมาใช้จากไหนได้ทุกเดือน

โดยปกติแล้วแหล่งรายได้อาจมาจาก

1.ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์

2.ดอกเบี้ยจากพันธบัตร/ตราสารหนี้

3.ดอกเบี้ยเงินฝาก

4.เงินปันผลหุ้น

5.บำนาญจากประกันสังคมหรือรัฐบาล

6.เงินคืนจากกรมธรรม์ประกันชีวิต

รายรับจากทั้งหกแหล่งนี้อาจแยกเป็นสองประเภท คือ แน่นอน และผันแปร

A.อสังหาริมทรัพย์ : รายรับผันแปร

ค่าเช่าเป็นแหล่งรายได้ผันแปรที่เป็นที่นิยมในการสร้างรายได้หลังเกษียณ

ข้อควรคำนึงถึง:

1.ค่าบำรุงรักษา (ตึกยิ่งเก่ายิ่งมีค่าบำรุงรักษาสูงขึ้น)

2.การหาผู้เช่าที่ดี

3.ค่าปรับปรุงตึกระหว่างการเช่า

4.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

B.พันธบัตร/ตราสารหนี้: เป็นทั้งแหล่งรายได้แน่นอนและผันแปร

ข้อควรคำนึงถึง:

1.เรตติ้งของผู้ออกตราสารหนี้ (ยิ่งดอกเบี้ยสูงยิ่งต้องพิจารณาเป็นพิเศษ)

2.ความเสี่ยงที่จะหาอัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ได้หลังตราสารหนี้ครบอายุ (ทำให้รายรับเป็นแบบผันแปร)

3.ผู้ออกตราสารไม่ชำระหนี้

4.ภาษีดอกเบี้ย

C.ดอกเบี้ยเงินฝาก: เป็นทั้งแหล่งรายได้แน่นอนและผันแปร

รายรับจากดอกเบี้ยเงินฝากเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับรายรับยามเกษียณ

ข้อควรคำนึงถึง:

1.ความเสี่ยงที่จะหาอัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ได้หลังตราเงินฝากครบอายุ (ทำให้รายรับเป็นแบบผันแปร)

2.ระยะเวลาของเงินฝากประจำส่วนใหญ่จะไม่นานทำให้มีความเสี่ยงจากการไม่ได้รับรายได้ที่เพียงพอ

D.เงินปันผลหุ้น: รายรับผันแปร

หุ้นบางตัวสามารถใช้ออกแบบเพื่อเป็นรายรับยามเกษียณได้

ข้อควรคำนึงถึง:

1.เงินปันผลมาจากผลประกอบการของบริษัท ซึ่งมักไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นคงไม่สามารถยึดเป็นสรณะได้

2.เป็นแหล่งรายได้ที่ดีมากในการทดแทนความเสี่ยงของเงินเฟ้อ เนื่องจากผลกำไรของบริษัทจะสะท้อนอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เป็นแหล่งรายได้ที่เหมาะสมที่จะทดแทนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยามเกษียณ

3.ความเสี่ยงจากการที่บริษัทล้มละลาย

E.บำนาญ: แหล่งรายได้แน่นอน

รัฐบาลมักให้สวัสดิการที่ยาวตลอดชีวิตของพลเมือง หลายๆครั้งเราแนะนำให้พยายามจัดให้รับรายได้จากแหล่งนี้ให้มากที่สุดเนื่องจากจะได้รับตลอดชีวิตและ ปัจจบันนี้คนมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นมาก

ข้อควรคำนึงถึง:

1.มักไม่ใช่แหล่งรายได้ที่เพียงพอสำหรับวิถีชีวิตของคุณ เพราะรัฐบาลส่วนใหญ่จะกำหนดเพดานที่จะจ่ายให้คุณอยู่แล้ว

2.การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งรายได้นี้

F.เงินคืนจากกรมธรรม์ประกันชีวิต: เป็นทั้งแหล่งรายได้แน่นอนและผันแปร

นี่เป็นแหล่งรายได้ที่มักใช้เพื่อเป็นเงินรองรัง เพื่อให้มีกระแสรายรับที่คงที่ อย่างไรก็ตาม ทุกกรมธรรม์ไม่เหมือนกัน

ข้อควรคำนึงถึง:

1.เงินคืนเป็นแบบผันแปร หรือแน่นอน

2.เงินคืนแบบแน่นอนมีระยะเวลากี่ปี

3.บริษัทประกันมีเครดิตเรตติ้งแค่ไหน

4.เงินคืนแบบแน่นอนมีมูลค่าเท่าไหร่ และมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่

5.เงินคืนจ่ายเป็นแบบเงินก้อน หรือจ่ายเป็นแบบเงินงวด

6.เงินคืนมีภาษีมาเกี่ยวข้องไหม (กรณีประกันบำนาญ)

นี่คือสรุปความเสี่ยงและข้อคิดเมื่อวางแผนการเกษียณ

“ทรัพย์สินเมื่อสูงอายุคือหนี้สิน รายรับคือสินทรัพย์ที่แท้จริง”

เมื่อคุณเกษียณจริงๆ สร้างรายรับที่แน่นอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และใช้รายรับผันแปรเพื่อสู้กับปัจจัยภายนอกจากเช่นเงินเฟ้อและ Life Styleที่สูงขึ้น

การสร้างฐานรายได้ทำให้สบายใจได้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องพึ่งพารายรับผันแปรแม้ตลาดขึ้นหรือลง

ข้อมูลที่ต้องการเพื่อการสร้างรายได้ยามเกษียณมีดังนี้:

1.อายุปัจจุบันของคุณ?

2.รายรับขั้นต่ำที่คุณต้องการยามเกษียณต่อเดือน? (ขอแบบตามจริง)

3.สุขภาพของคุณเป็นอย่างไร?

4.อายุเกษียณคือ 65 ถ้าก่อนหน้านั้นเรียกว่า Holiday ไม่ใช่การเกษียณ (คุณต้องระบุอายุเกษียณให้ชัด)

5.คุณอยากมีรายได้หลังเกษียณไปนานเท่าไหร่ ?(ส่วนใหญ่คำตอบคือตลอดไป)

6.ปัจจุบันคุณมีรายรับผันแปรอยู่แล้วหรือไม่ ? ถ้าใช่ คุณคิดว่าจะลงทุนต่อในทรัพย์สินแบบผันแปร และเท่าไหร่ที่คุณจะเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินแบบแน่นอน?

หากคุณไม่แน่ใจคำตอบด้านบน คุยกับที่ปรึกษาการเงินวันนี้ หาเวลาปรึกษาและวางแผนวันหยุดที่ยาวที่สุดในชีวิตของคุณ....วันเกษียณของคุณ!!!

Cr: Sanjay Tolani - Financial Advisor & Coach

แปลโดย : See Consulting


bottom of page